วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการฝึกปฏิบัติงานประสบการณ์วิชาชีพ

สรุปผลการฝึกปฏิบัติงานประสบการณ์วิชาชีพ
สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาราชบุรี
1. ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการกระทบยอดเงิรสดในแต่ละวันให้ตรงตามระบบ
2. ได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการขอคำอนุมัติค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระบบงาน ตามขั้นตอน
3. มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานทางบัญชี และการกระทบยอดเงิน
4. ได้รับความรู้เพิ่มเติมในงานด้านสินเชื่อ ด้านการเงิน และงานด้านบริหารหนี้
5. เพิ่มทักษะในการนับเงินให้เร็วและแม่นยำ
6. มีความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการเปิดบัญชีสมุดเงินฝากประเภทต่าง ๆ
7. เรียนรู้เรื่องการตรวจสอบสถานะทางการเงินของลูกค้าที่มาทำเรื่องสินเชื่อ
8. ได้รับความรู้เรื่องการหักภาษีต่าง ๆ และการรับรองการขอภาษี
9. ได้มิตรภาพดี ๆ จากพี่ที่ดูแล
10. มีการทำงานเป็นทีมที่ดี

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 18 (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554)

งานที่ปฏิบัติ

- พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 2 ใบ

- พิมพ์ใบรับรองภาษี จำนวน 15 ใบ

- เรียงลำดับรายงานทางบัญชี จำนวน 16 รายการ

- แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 119 ใบ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเรียงรายงานทางบัญชี

2. เรียนรู้เรื่องการคิดคำนวณทางการเงินเพิ่มเติม

สัปดาห์ที่ 17 (วันที่ 21 – 25 กุมภาพันธ์ 2554)

งานที่ปฏิบัติ
- พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ
- พิมพ์รายละเอียดการบัตร ATM จำนวน 2 รายการ
- พิมพ์รายชื่อลูกค้าและตรวจสอบที่อยู่อาศัยให้เป็นปัจจุบัน จำนวน 38 รายการ
- เตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 15 ราย
- พิมพ์ใบกำกับภาษีค่าเช่าบ้าน จำนวน 1 รายการ
- บันทึกคำขออนุมัติค่าใช้จ่าย จำนวน 2 รายการ
- พับใบรายงานทางบัญชี จำนวน 16 รายการ
- บันทึกหมายเลขสมุดบัญชีเข้าระบบ จำนวน 25 รายการ
- แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 218 ใบ
- พิมพ์ใบรับรองภาษี 10 ใบ
- พิมพ์รายงาน 36 เพื่อกระทบยอดใบ Slip เงินกู้ จำนวน 2 รายการ
สภาพปัญหา
- รายชื่อลูกค้าและที่อยู่ไม่ตรงกัน
- ใบกระทบยอดเงินสดเมื่อคิดคำนวณออกมาแล้วยอดไม่ตรงกัน 2 ข้าง
การแก้ปัญหา
- โทรสอบถามลูกค้า ถึงที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการขอใบรับรองภาษีเพื่อขอลดหย่อนภาษี
- เรียนรู้เรื่องการกระทบยอดเงินสดเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 16 (วันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 8 ใบ

2.เตรียมเอกสารสำหรับเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 12 รายการ

3.พิมพ์ใบ KYC CHECK LIST จำนวน 21 ชุด

4.พิมพ์ใบรายงาน 37 จำนวน 2 รายการ

5.ตรวจสอบเอกสาร JUC ให้ตรงกับวันทำนิติกรรมและเอกสารในซอง จำนวน 28 รายการ

6.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 187 ใบ

7.พิมพ์รายงานการกู้เงิน จำนวน 18 รายการ

8.พิมพ์รายละเอียดการทำบัตร ATM จำนวน 1 รายการ

9.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 12 ชุด

สภาพปัญหา

1.ใบ KYC CHECK LIST ลูกค้าไม่กรอกข้อมูลชื่อลงช่องภาษาอังกฤษ

2.ใบกระทบยอดเงินสดยอดไม่ตรงกัน 2 ข้าง เนื่องจากมีใบค่าใช้จ่าย 88

3.เอกสาร JUC มีชื่อมากกว่าจำนวนซองเอกสาร เนื่องจากเป็นการขอกู้แบบบ้านเอื้ออาทร

4.หลักประกันโฉนดที่ดินมีชื่อผู้กู้ 2 ชื่อ

การแก้ปัญหา

1.สะกดตามหลักของภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

2.นำใบค่าใช้จ่าย 88 บวกเพิ่มเข้าไปในช่องรายจ่ายเบ็ดเตล็ด

3.ตรวจสอบเอกสาร JUC ที่มีชื่ออยู่กับซองเอกสารที่ไม่ใช่กลุ่มบ้านเอื้ออาทร

4.บันทึกทั้ง 2 ชื่อเนื่องจากเป็นการกู้ร่วม

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบถึงวิธีการตรวจสอบเอกสาร JUC ว่าตรงกับวันทำนิติกรรมหรือไม่

2. ได้เรียนรู้วิธีการพิมพ์รายงานการกู้เงินเพื่อปลูกสร้างบ้านแก่ลูกค้าที่มาทำการกู้เงินกับธนาคาร

3. เรียนรู้เรื่อรายละเอียดการทำบัตร ATM ว่าจะต้องมีการบันทึกรายการตรงไหนบ้าง

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 15 (วันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์ 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.พิมพ์รายงานด้านบัญชีเพื่อกระทบยอด จำนวน 16 รายการ

3.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 221 ใบ

4.บันทึกค่าใช้จ่าย จำนวน 3 รายการ

5.พิมพ์ใบรายงาน 36 จำนวน 16 รายการ

6.ตรวจสอบรายชื่อผู้กู้ และ ตรวจสอบรายชื่อให้ตรงกับหน้าซอง จำนวน 26 รายการ

7.นำใบกระทบยอดเงินสดตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว เข้าแฟ้ม จำนวน 13 รายการ

8.พิมพ์ใบรายงาน 36 จำนวน 32 รายการ

สภาพปัญหา

1.ใบกระทบยอดเงินสดยอดรวมทั้ง 2 ด้านไม่ตรงกัน เนื่องจากมีใบนำส่ง ATM ต้องนำมาคำนวณด้วย

2.ใบรายงาน 36 ยอดเงินกู้ไม่ตรงเนื่องจากมีการ Error

3.รายชื่อผู้กู้บางรายไม่ตรงกับชื่อหน้าซอง เนื่องจากเป็นการกู้ซื้อบ้านเอื้ออาทร

4.ใบกระทบยอดเงิน ด้านรายจ่าย น้อยกว่า เงินสดที่มีอยู่จริง เนื่องจากมี รายงาน 88 ที่ไม่ได้เข้าระบบ

การแก้ปัญหา

1.นำใบนำส่ง ATM บวกเพิ่มเข้าไป

2.นำยอดที่ได้จริงมาลบจำนวนที่ Error จึงจะตรง

3.ค้นหาแต่ผู้ที่มีชื่ออยู่หน้าซอง ไม่ใช่ผู้กู้ที่ซื้อบ้านเอื้ออาทร

4.นำใบรายงาน 88 ไปบวกในช่องจ่ายเบ็ดเตล็ด ยอดจึงเท่ากับจำนวนเงินสดจริง

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบถึงวิธีการตรวจสอบรายชื่อลูกค้าที่มาทำรายการกู้ในแต่ละงันว่าตรงกับซองเอกสารที่ได้รับมาในแต่ละวันหรือไม่

2. ได้เรียนรู้การประชาสัมพันธ์เพื่อชักชวนให้ลูกค้ามาฝากเงินและมาทำการขอกู้ซื้อบ้าน โดยการเดินตลาดและตั้งเต็นท์ประชาสัมพันธ์

3. ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเงินฝากประเภทสินเคหะว่ามีลักษณะอย่างไร

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 14 วันที่ (31 – 4 กุมภาพันธ์ 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 28 ชุด

3.เตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 27 รายการ

4.พิมพ์ใบรับรองภาษี จำนวน 9 ใบ

5.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 121 ใบ

6.ทำ Power Point Business Plan จำนวน 1 อย่าง

สภาพปัญหา

1.ใบ Slip ไม่มีรายเซ็นต์เจ้าหน้าที่ทำรายการ

2.หลักประกันโฉนดที่ดินมีวันทำรายการ 2 วัน

3.ยอดใบเงินสดในรายการใบกระทบยอดเงินสดไม่ตรงกัน 2 ข้าง เนื่องจากมีใบเสร็จ Interface

การแก้ปัญหา

1.นำใบ Slip ที่ไม่มีรายเซ็นต์เจ้าหน้าที่นำไปให้เจ้าหน้าที่ ที่ทำรายการเซ็นต์

2.บันทึกวันทำรายการล่าสุดเพียง 1 วัน

3.นำใบ Interface มาบวกเพิ่มในรายรับเบ็ดเตล็ด

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้เรียนรู้การแยกประเภทใบ Slip เงินฝากเพิ่มเติมเนื่องจากมีการนำฝากหลายประเภท

2. ได้ทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากมีวันทำนิติกรรม 2 วัน

3. ได้เรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาเมื่อใบรายงานเงินสดประจำวันไม่ตรง

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 13 (วันที่ 24- 28 มกราคม 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.เตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 10 รายการ

3.บันทึกรายการขอโฉนดที่ดิน จำนวน 2 รายการ

4.พิมพ์ใบขอยื่นกู้ซื้อบ้าน จำนวน 3 รายการ

5.บันทึกคำขออนุมัติค่าใช้จ่าย จำนวน 4 รายการ

6.พับใบรายงานด้านบัญชีเพื่อจัดเก็บเข้าแฟ้มรายวัน จำนวน 16 รายการ

7.พิมพ์ใบรายงาน 37 จำนวน 2 ใบ

8.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 260 ใบ

9.เรียกรายงานด้านบัญชี จำนวน 16 รายการ

10.พิมพ์ใบกำกับภาษี จำนวน 8 ใบ

สภาพปัญหา

1.รายการบันทึกขอโฉนดที่ดินไม่มีผู้เซ็นต์พยาน

2.ใบคำขออนุมัติไม่มีเลขที่ใบเสร็จ

3.ใบกระทบยอดเงินสด เมื่อยอดออกมาแล้วไม่ตรงกับจำนวนเงินสด

4.รายงานด้านบัญชีเมื่อออกมาแล้วไม่ตรงกับใบเสร็จที่มี

การแก้ปัญหา

1.แจ้งลูกค้าเพื่อให้ทราบว่าเอกสารขาดการเซ็นต์ของพยาน

2.แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มเลขที่ใบเสร็จ

3.เนื่องจากมีการนำเงินสดออกจากตู้ ATM และมีการเบิกเงินสดจาก KSIM ต้องนำรายการทั้ง 2 นำมา บวก

4.ตรวจสอบดูจากสาขาย่อย OSS : บ้านโป่ง ว่ามีการทำรายการด้านบัญชีร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีนำมารวมด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบถึงวิธีการทำรายงานค่าใช้จ่ายเพื่อขอเบิกเงินจากธนาคาร

2. ได้เรียนรู้เรื่องการตรวจสอบประวัติลูกค้าที่มาขอยื่นกู้ประเภทต่าง ๆ ตามจริง

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 12 (วันที่ 17 – 21 มกราคม 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 8 ชุด

3.เตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 40 รายการ

4.พิมพ์ใบรับรองภาษี จำนวน 9 ใบ

5.บันทึกรายการเรียกเก็บเงิน จำนวน 6 รายการ

6.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 192 ใบ

7.พิมพ์ใบ KYC CHECK LIST จำนวน 12 ชุด

8.เรียกรายงานด้านบัญชีเพื่อกระทบยอด จำนวน 16 รายการ

9.พิมพ์ใบรายงานเงินมัดจำ 04 , 05 จำนวน 2 ใบ

สภาพปัญหา

1.เอกสารในการเปิดบัญชีลูกค้ากรอกข้อมูลไม่ครบ

2.เครื่องพิมพ์ใบรับรองภาษีน้ำหมึกหมด

3.รายงานด้านบัญชีเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วยอดไม่ตรงกับรายการในใบเสร็จรับเงิน เนื่องจากมีสาขาย่อย OSS บ้านโป่ง ออกรายการร่วมด้วย

4.ใบ Slip เมื่อคิดยอดรวมอกมาแล้วยอดไม่ตรงกับใบรายงาน 37 เนื่องจากมีการ ERROR

การแก้ปัญหา

1.สอบถามข้อมูลจากลูกค้าเพิ่มเติม

2.เปลี่ยนหมึกพิมพ์ใหม่

3.เรียกรายงานด้านบัญชีของสาขาย่อย OSS บ้านโป่ง ยอดถึงจะตรงตามรายการ

4.นำยอดที่ ERROR มาวก เพิ่มเข้าไปจึงจะตรงกับยอดในใบรายงาน 37

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เรียนรู้เรื่องการจ่ายเงินมัดจำที่ลูกค้ามาชำระที่ธนาคาร ต้องใช้เอกสารที่มีรู้แบบแต่ต่างกัน

2. ได้ทราบถึงวิธีการเรียกใบรายงานทางบัญชี หรือใบรายงาน 36เพื่อกระทบยอดเงินสดแต่ละวัน

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 11 (วันที่ 10 – 14 มกราคม 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.พิมพ์ใบกำกับภาษี จำนวน 1 ใบ

3.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 220 ใบ

4.พิมพ์ใบ KYC CHECK LIST จำนวน 51 ชุด

5.พิมพ์ใบรายงาน 37 จำนวน 2 ใบ

6.พับใบรายงานด้านบัญชีเพื่อจัดเก็บเข้าแฟ้มรายวัน จำนวน 16 รายการ

7.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 33 ชุด

8.พิมพ์ใบรายงานยอดเงินสด 36 จำนวน 16 รายการ

9.เตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า จำนวน 15 รายการ

สภาพปัญหา

1.ใบ Slip ไม่มีตรารับ , ตราจ่าย และวันที่ทำรายการ

2.ใบรายงาน 37 ไม่ตรงกับยอดรวมในใบ Slip เนื่องจากออกรายงาน 37 ก่อน และมีการทำรายการเพิ่มเติม

3.ใบกระทบยอดเงินสดยอดไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีอยู่จริง

การแก้ปัญหา

1.ปั้มตรารับ , ตราจ่าย และวันที่เพิ่มเติม

2.ออกรายงาน 37 ใหม่

3.ตรวจสอบการทำรายการจากเจ้าหน้าที่การเงิน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้เรียนรู้เรื่องการพับใบรายงานทางบัญชีเพื่อเก็บเข้าแฟ้มให้เรียนร้อย แล้วบันทึกให้เป็นปัจจุบัน

2. เรียนรู้เรื่องการดูรายงานเงินสดในแต่ละวัน

3. ได้รับความมีน้ำใจจากพี่ที่ดูแล

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 10(วันที่ 4-7 มกราคม 2554)

งานที่ปฏิบัติ

1.กระทบยอดเงินสด จำนวน 4 รายการ

2.พับรายงานด้านบัญชีเพื่อกระทบยอด จำนวน 16 รายการ

3.พิมพ์ใบการขอกู้เพื่อซื้อบ้าน จำนวน 4 ใบ

4.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 264 ใบ

5.พิมพ์ใบกระทบยอดเงินสด จำนวน 4 ใบ

6.พิมพ์ใบ KYC CHECK LIST จำนวน 25 ชุด

7.พิมพ์ใบเสียภาษี จำนวน 1 ใบ

สภาพปัญหา

1.แบบฟอร์มการขอกู้เพื่อซื้อบ้านไม่มี

2.ยอดที่ได้จากการคิดใบ Slip ไม่ตรงกับใบรายงาน 37

3.ใบ KYC CHECK LIST ไม่มีข้อมูลลูกค้าเป็นภาษาอังกฤษ

4.ยอดใบเงินสดไม่ตรงกัน 2 ข้าง เนื่องจากมีใบเสร็จ Interface

การแก้ปัญหา

1.สร้างแบบฟอร์มใหม่

2.เนื่องจากมีการ Error จึงทำให้ยอดไม่ตรงกัน

3.สะกดใหม่ให้ถูกหลักไวยากรณ์

4.นำใบ Interface มาบวกเพิ่มในรายรับเบ็ดเตล็ด

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบวิธีการขอกู้ซื้อบ้านต้องมีขั้นตอนใดบ้าง แล้วต้องดำเนินการอย่างไร

2. ทราบถึงวิธีการกระทบยอกเงินสดให้ตรงในแต่ละบัญชี

3. ได้เรียนรู้เรื่องการตรวจสอบเงินในแต่ละวัน แล้วบันทึกให้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 9 (วันที่ 27 – 30 ธันวาคม 2553)

งานที่ปฎิบัติ

1.พิมพ์ใบเงินสด จำนวน 8 ใบ

2.พิมพ์ใบกำกับภาษี จำนวน 3 ใบ

3.เรียกรายงานการส่งเงินมัดจำ 04 , 05 จำนวน 2 ใบ

4.ออกรายงาน 37 และ 36 จำนวน 11 ใบ

5.เปิดบัญชีรักการออม จำนวน 2 เล่ม

6.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 331 ใบ

7.เรียงใบเสร็จจากระบบเพื่อให้ตรงกับในใบรายงาน จำนวน 25 รายการ

สภาพปัญหา

1.รายงานการส่งเงินมัดจำ 04 ,05 ไม่ตรงกับใบเสร็จ

2.เอกสารการเปิดบัญชีรักการออมไม่ครบ เนื่องจากลูกค้าไม่ทราบรายละเอียดการเปิดบัญชีรักการออม

3.ยอดรวมใบ Slip ไม่ตรงกับใบรายงาน 37

4.ยอดรวมจากใบ Slip ในระบบมีการ Error

การแก้ปัญหา

1.แจ้งผู้ทำการส่งเงินมัดจำให้ทำการอนุมัติ

2.ให้รายละเอียดการเปิดบัญชีรักการออมแก่ลูกค้า

3.ตรวจสอบที่ยอดรวมการปิดบัญชี ว่ายอดตรงกับใบรายงาน 37 หรือไม่

4.คิดยอดรมจากใบ Slip แล้วบวกในส่วนที่ Error เข้าไปก็จะตรง

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบถึงวิธีการพิมพ์ใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง

2. ได้ศึกษาวิธีการตรวจสอบเอกสารการเปิดบัญชีประเภทต่าง ๆ


วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 20 – 24 ธันวาคม 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบเงินสด จำนวน 10 ใบ

2.พิมพ์ใบ KYC CHECK LIST จำนวน 5 ชุด

3.แยกประเภท Slip จำนวน 32 ใบ

4.เปิดบัญชี SB099 จำนวน 10 รายการ

5.ตรวจสอบรายชื่อลูกค้าที่มาขอรับเงินคืน จำนวน 2 รายการ

6.พิมพ์รายละเอียดการทำบัตร ATM จำนวน 3 รายการ

7.พิมพ์หนังสือภายในเพื่อขอกู้เงิน จำนวน 2 ฉบับ

8.แยกประเภท Slip และคิดยอดรวม จำนวน 75 ใบ

9.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 4 ชุด

สภาพปัญหา

1.ใบ KYC CHECK LIST ไม่พอ

2.ใบ Slip ไม่มีรายเซ็นต์เจ้าหน้าที่ทำรายการ

3.ใบเงินสดยอดไม่ตรงกันทั้ง 2 ข้าง

4.รายละเอียดการขอกู้ไม่ครบ

5.Slip ใบเงินกู้ยอดไม่ตรงกับใบรายงาน 37

6.ใบเงินสดมีการทำรายการของ ATM แต่ไม่มีใบบันทึกการทำรายการ

การแก้ปัญหา

1.ถ่ายเอกสารใบ KYC CHECK LIST เพิ่ม

2.นำใบ Slip ที่ไม่มีรายเซ็นต์เจ้าหน้าที่นำไปให้เจ้าหน้าที่ ที่ทำรายการเซ็นต์

3.ตรวจสอบจาก Slip ที่เป็นเงินสด

4.สอบถามข้อมูลการขอกู้เพิ่มเติมจากลูกค้า

5.คิดใบ Slip เงินกู้ใหม่

6.ตรวจสอบการทำรายการของ ATM

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้เรียนรู้เรื่องการเตรียมเอกสารเพื่อมาขอกู้เงิน

2. ได้ทราบถึงขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อส่งโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 7(วันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบเงินสด จำนวน 8 ใบ

2.นับธนบัตรใบละ 1000 บาท จำนวน 300 ใบ

3.เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ จำนวน 3 เล่ม

4.พิมพ์ใบรายงาน 37 จำนวน 1 รายการ

5.ลงทะเบียนส่งหลักประกันโฉนดที่ดินเข้าห้องมั่นคง จำนวน 10 ชุด

6.พิมพ์ KYC CHECK LIST จำนวน 7 ชุด

7.ตรวจสอบรายชื่อการขอรับเงินคืนของลูกค้า จำนวน 2 รายการ

8.แยกประเภท Slip และคิดยอดรวม จำนวน 71 ใบ

สภาพปัญหา

1.เนื่องจากธนบัตรเป็นธนบัตรใหม่จึงทำให้ติดกัน เครื่องปั่นเงินจึงปั่นไม่ครบ 100 ใบ

2.ใบรายงาน 37 ไม่ตรงกับใบ Slip

3.วันทำสัญญามีการทำรายการ 2 วัน

4.ไม่พบรายชื่อลูกค้าที่มาขอรับเงินคืนเนื่องจากมีการกู้ร่วม

5.ยอดรวมใน Slip ไม่ตรงกับ รายงาน 37

การแก้ปัญหา

1.นับธนบัตรด้วยมือ 1 ครั้ง

2.ออกใบรายงาน 37 ที่เป็นปัจจุบัน

3.ตรวจดูวันทำสัญญาล่าสุด

4.ตรวจสอบจากรายชื่อผู้กู้ร่วม

5.ตรวจสอบจากระบบว่าได้ทำรายการอะไรบ้าง

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รู้จักวิธีการนับเงินให้ถูกต้องและแม่นยำ

2. ได้ทราบถึงวิธีการขอรับเงินคืน แก่ลูกค้าที่หักเงินเกินบัญชี

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 6 (วันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบเงินสดจำนวน 4 ใบ

2.พิมพ์ KYC Check list จำนวน 8 ชุด

3.เรียงลำดับวันทำนิติกรรมจำนวน 52 รายการ

4.ค้นหาวันทำนิติกรรม - เลขที่บัญชีเงินกู้ในระบบงานสินเชื่อเพื่อนำเอกสารสำคัญเก็บเข้าสารระบบของธนาคารจำนวน 48 รายการ

5.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวมจำนวน 35 ใบ

สภาพปัญหา

1.วันทำนิติกรรมไม่ตรงกับซองเก็บ

2.รายชื่อลูกค้าไม่ถูกต้อง

3.ใบ Slip ไม่มีลายเซ็นต์เจ้าหน้าที่ธนาคาร

การแก้ปัญหา

1.ค้นหาวันทำนิติกรรมใหม่

2.ค้นหาจากเลขที่บัญชี

3.ตรวจสอบรหัสของเจ้าหน้าที่ที่ทำรายการใน Slip

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบถึงวิธีการแก้ปัญหาเวลาลูกค้ามาชำระเงินแล้วคีย์ข้อมูลผิด แก้ไขโดยการแก้ไขใบเสร็จให้ใหม่และทำการยกเลิกใบเสร็จนั้น

2. การให้บริการแก่ลูกค้าที่มาธนาคารต้องมีความอดทน

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 5 (วันที่ 29 – 3 ธันวาคม 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์ใบเงินสด จำนวน 6 ใบ

2.ตรวจสอบ STATEMENT จำนวน 42 ใบ

3.พิมพ์ระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อการให้เช่าซื้อ จำนวน 13 หมวด

4.พิมพ์ระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อโครงการ จำนน 11 หมวด

5.พิมพ์ระเบียบปฏิบัติงานสาขาบางประการ จำนวน 9 หมวด

6.ค้นหาวันทำนิติกรรม-เลขที่บัญชีเงินกู้ในระบบงานสินเชื่อ เพื่อนำเอกสารสำคัญเก็บเข้าสารระบบของธนาคาร จำนวน 115 รายการ

7.แยกประเภทใบ Slip และคิดยอดรวม จำนวน 356 ใบ

สภาพปัญหา

1.การคิด Slip จำนวนเงินขาด

2.ยอดใบ Slip ไม่ตรง

3.การเข้า Intranet ล่าช้า

4.วันทำนิติกรรมบางรายการไม่ถูกต้อง

5.แยกประเภทใบ Slip ผิดประเภท

การแก้ปัญหา

1.ดูข้อมูลจากการชำระเงินจากลูกค้าเนื่องจากทำรายการซ้ำ

2.คิด Slip ใหม่

3.ดาวห์โหลด แล้ว สั่งปริ้นท์ครั้งเดียว

4.ค้นหาวันทำนิติกรรมใหม่

5.แยกประเภทและคิดคำนวณใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ได้ทราบถึงวิธีการตรวจสอบการกู้เงินของลูกค้าจาก STATEMENT

2.ทราบถึงวิธีการค้นหาวันทำนิติกรรมจากระบบงาน

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 4(วันที่ 22 – 26 พฤศจิกายน 2553)

งานที่ปฏิบัติ
1.พิมพ์ใบเงินสดรับ จำนวน 2 ใบ
2.พิมพ์ KYC CHECK LIST จำนวน 11 ชุด
3.เปิดบัญชี จำนวน 3 เล่ม
4.ทำบัตรชำระเงินกู้ จำนวน 1 ใบ
5.พิมพ์ระเบียบการปฏิบัติงานด้านการเงิน จำนวน 21 หมวด
6.พิมพ์ระเบียบการปฏิบัติงานด้านสินเชื่อ จำนวน 30 หมวด
7.พิมพ์แบบฟอร์ม ATM จำนวน 1 ใบ
8.กรอกข้อมูลชื่อบัญชีลงในเช็ค จำนวน 16 ใบ
9.พิมพ์ใบ AS-04 และ AS-05 จำนวน 2 ใบ
10.ใส่ซองใบเสร็จ จำนวน 6 ซอง
สภาพปัญหา
1.ซองที่ใส่ใบเสร็จหมด
2.ลูกค้ากรอกข้อมูลการเปิดบัญชีไม่ครบ
3.การเข้า Intranet ช้า
4.กระดาษติดเครื่องปริ้นเตอร์
5.ขนาดของกระดาษไม่ตรงกับขนาดที่ต้องการ
การแก้ปัญหา
1.เบิกซองจากฝ่ายอุปกรณ์
2.สอบถามข้อมูลลูกค้าด้วยตนเอง
3.ดาวน์โหลดไฟล์เป็นหมวด ๆ แล้ว ปริ้นเตอร์ ครั้งเดียว
4.ดึงกระดาษออก
5.ตั้งค่ากระดาษใหม่
ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ทราบถึงวิธีการบันทึกใบเงินสดในแต่ละวัน

2.ได้เรียนรู้เรื่องการกรอกข้อมูลทางบัญชีลงในเช็ค

3.ได้ทราบถึงระเบียบการต่าง ๆ ของธนาคาร

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 3(วันที่ 15 - 19 พฤศจิกายน 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.พิมพ์แบบฟอร์ม ATM จำนวน 1 ฉบับ

2.คีย์ข้อมูลการตรวจสอบรายชื่อ WATCH LIST จำนวน 19 ชุด

3.STAM CASH จำนวน 300 ใบ

4.เปิดบัญชีเงินออมทรัพย์ จำนวน 5 เล่ม

5.พิมพ์ KYC CHECK LIST จำนวน 10 ชุด

6.ถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชน จำนวน 10 ใบ

7.ถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน จำนวน 6 ฉบับ

8.พิมพ์ใบประหน้าแฟ้ม เรื่องคำขอเปิดบัญชีจำนวน 4 ฉบับ

สภาพปัญหา

1.หมายเลขคำขอเปิดบัญชีหน้าแฟ้มไม่ตรงกับเอกสารด้านใน

2.น้ำหมึกที่ปั๊มแห้ง

3.ลูกค้ากรอกข้อมูลไม่ครบ

4.การพิมพ์ใบเงินสดรับยอดไม่ตรงกัน 2 ฝั่ง

การแก้ปัญหา

1.ตรวจสอบหมายเลขคำขอเปิดบัญชีให้ตรงกัน

2.เติมน้ำหมึกที่ปั๊ม

3.สอบถามข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตนเอง

4.ตรวจสอบตัวเลขว่าใส่ถูกต้องหรือไม่ และคำนวณตัวเลขใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบถึงวิธีการพิมพ์ฟอร์มบัตร ATM

2. ได้เรียนรู้เรื่องวิธีการเปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์

3. ได้เรียนรู้เรื่องการเตรียมเอกสารเพื่อเปิดบัญชี

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 2(วันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1.เรียงลำดับหมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชีออมทรัพย์

เลขที่ 05851 - 05970 จำนวน 119 ชุด

05601 - 05720 จำนวน 119 ชุด

03171 - 03296 จำนวน 125 ชุด

04104 - 04270 จำนวน 166 ชุด

2.เรียงลำดับหมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชี SB 99

เลขที่ 0001 – ปัจจุบัน จำนวน 119 ชุด

3.ลงทะเบียนคุมสมุดคู่ฝาก เงินออมทรัพย์เล่ม 2 จำนวน 194 รายการ

4.ลงทะเบียนคุมสมุดคู่ฝาก เงินออมทรัพย์พิเศษ เล่มที่ 2 จำนวน 122 รายการ

5.ลงทะเบียนคุมสมุดคู่ฝาก เงินออมทรัพย์รักการออม 16 จำนวน 118 รายการ

6.พิมพ์สมุดบัญชีเงินฝากประจำสินเคหะ จำนวน 130 เล่ม

7.คีย์เลขที่บัญชี เพื่อตรวจสอบสถานะทางบัญชีของลูกค้า จำนวน 167 รายการ

8.ปั๊มตรายางสมุดบัญชีเงินฝากประจำสินเคหะ จำนวน 155 เล่ม

9.ปั๊มตรายางใบคำขอเปิดบัญชีเงินฝาก จำนวน 506 ใบ

10.ปั๊มตรายางใบถ่ายทอดลายมือชื่อ จำนวน 298 ใบ

สภาพปัญหา

1.หมายเลขคำขอเปิดบัญชีไม่ครบ

2.เลขที่สมุดบัญชีซ้ำกัน

3.การตรวจสถานะทางบัญชีของลูกค้าขัดข้อง

4.น้ำหมึกที่ปั๊มแห้ง

การแก้ปัญหา

1.แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชีออมทรัพย์

2.แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเงินตรวจสอบหมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชี

3.เติมน้ำหมึกที่ตลับหมึก

4.ใช้วิธีการคีย์แบบ HCAAC

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบถึงขั้นตอนการคีย์เลขบัญชีให้แก่ลูกค้า

2. ได้ความรู้เรื่องการลงทะเบียนคุมสมุดคู่ฝากต่าง ๆ เพื่อเก็บเข้าระบบให้เรียบร้อย

3. ได้ทราบถึงวิธีการแก้ไขการเลียงลำดับหมายเลขการขอเปิดบัญชีที่มีหมายเลขไม่ตรงกัน

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 1(วันที่ 1–5 พฤศจิกายน 2553)

งานที่ปฏิบัติ

1. ตรวจสอบใบ KYC CHECK LIST เพื่อตรวจสอบการแสดงตนของลูกค้า จำนวน 470 ชุด

2. คีย์ข้อมูลการตรวจสอบรายชื่อ WATCH LIST จำนวน 470 ชุด

3. ถ่ายเอกสารใบ KYC CHECK LIST จำนวน 470 แผ่น

4. เรียงลำดับหมายเลขการบันทึกคำขอเปิดบัญชีออมทรัพย์

ตั้งแต่หมายเลข 00001-00090 จำนวน 90 ชุด

05321-05470 จำนวน 149 ชุด

5. คิดคำนวณจำนวนเงินฝากด้วยเครื่องคำนวณ จำนวน 8 ใบ

สภาพปัญหา

1. การเข้า Internet เพื่อทำการคีย์ข้อมูลการตรวจสอบรายชื่อ WATCH LIST เกิดการ EROR

2. ชื่อ นามสกุล ผู้ขอเปิดบัญชีไม่มีในบัตรประจำตัวประชาชน

3. หมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชีออมทรัพย์ไม่ครบ

4. หมึกปริ้นท์ใบ WATCH LIST หมด

การแก้ไขปัญหา

1. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ

2. สะกดด้วยตนเอง

3. แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหมายเลขบันทึกคำขอเปิดบัญชีออมทรัพย์

4. เติมหมึกใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบถึงการตรวจสอบประวัติทางการเงินของลูกค้าที่มาเปิดบัญชี

2. ได้รู้ถึงวิธีคิดใบเสร็จการจ่ายเงินกู้ด้วยเครื่องคำนวณเลข

3. ได้รู้ถึงวิธีการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้จากการเรียน วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3

1.การเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 ทำให้ทราบถึงประวัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทราบถึงขั้นตอนการทำโครงการ การทำเอกสารต่างๆที่ถูกต้อง การใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับบุคคลไม่ว่าจะเป็นกริยา มารยาท ได้ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรมธุรกิจอัจฉริยะว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ทราบถึงวัฒนธรรม การดำรงชีวิต ประเพณีของแต่ละประเทศ ว่าถ้าจะไปติดต่อธุรกิจกับชาติต่างๆ ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้เหมาะสมกับภายในองค์การหรือบริษัท

2.สามารถนำกระบวนการจากการเรียนรู้ไปใช้ให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการทำงาน ฝึกความอดทน ความเป็นระเบียบในการไปฝึกประสบการณ์นอกสถานที่การศึกษาว่าเรานำมาดัดแปลงกับสิ่งที่เราได้เรียนมานั้นนำมาใช้กับภายในองค์กรหรือบริษัทมากเท่าไร

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS11-15/09/2009

Sorting


3. การเรียงลำดับแบบเร็ว(Quick Sort)การเรียงลำดับในลักษณะนี้ เป็นการปรับปรุงมาจากการเรียงลำดับแบบ Bubble เพื่อให้การเรียงลำดับเร็วขึ้น วีธีนี้เหมาะกับการเรียงข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือมีขนาดใหญ่ และเป็นวิธีการเรียงข้อมูลที่ให้ค่าเฉลี่ยของเวลาน้อยที่สุดเท่าที่ค้นพบวิธีหนึ่งการเรียงลำดับแบบ Quick Sortจะเป็นการเปรียบเทียบสมาชิกที่ไม่อยู่ติดกัน โดยกำหนดข้อมูลค่าหนึ่ง เพื่อแบ่งชุดข้อมูลที่ต้องการเรียงลำดับออกเป้น 2 ส่วน จากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยชุดข้อมูล 2 ส่วนนั้นลงไปอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนข้อมูลแต่ละชุดมีสมาชิกเหลือเพียงตัวเดียวและทำให้ชุดข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ



4 .การเรียงลำดับแบบแทรก(Insertion Sort) การเรียงลำดับที่ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการนำข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปในชุดข้อมูลที่มีการเรียงลำดับอยู่แล้ว โดยข้อมูลใหม่ที่นำเข้ามาจะแทรกอยู่ในตำแหน่งทางขวาของชุดข้อมูลเดิม และยังคงทำให้ข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ



5. การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort) เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก เริ่มพิจารณาจากหลักที่มีค่าน้อยที่สุดก่อน นั่นคือถ้าข้อมูลเป็นเลขจำนวนเต็มจะพิจารณาหลักหน่วยก่อน การจัดเรียงจะนำข้อมูลเข้ามาทีละตัว แล้วนำไปเก็บไว้ที่ซึ่งจัดไว้สำหรับค่านั้น เป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับการเข้ามา

DTS10-08/09/2009

Sorting


การจัดเรียง หรือเรียงลำดับข้อมูล (sorting) อาจเรียงจากค่ามากไปน้อย หรือจากค่าน้อยไปมากก็ได้ประโยชน์ของการจัดเรียงข้อมูลนอกจากจะเป็นการจัดระเบียบข้อมูลแล้ว ยังช่วยทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยพื้นฐานการเรียงลำดับข้อมูลในคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


-การจัดเรียงภายใน (internal sorting) การจัดเรียงแบบนี้ ข้อมูลที่จะถูกจัดเรียงต้องเก็บ หรือใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เป็นหลักในการประมวลผลโดยใช้โครงสร้างข้อมูล เช่น อาร์เรย์หรือลิงก์ลิสต์ร่วมด้วย


-การจัดเรียงภายนอก (external sorting) กรณีที่ข้อมูลจำนวนมากไม่สามารถนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อประมวลผลได้ทั้งหมด (พึงระลึกไว้ว่า CPU ไม่สามารถประมวลผลกับสื่อข้อมูลที่เป็นดิสก์ได้) ดังนั้นการจัดเรียงจะทำการจัดเรียงภายนอก โดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ซึ่งบางส่วนจะคงไว้ในดิสก์ และทยอยนำข้อมูลบางส่วนเข้าสู่หน่วยความจำ (RAM) เพื่อทำการจัดเรียง


1. การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort)เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียงลำดับข้อมูล โดยเริ่มจาก- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดแล้วสลับค่าของตำแหน่งข้อมูลนั้นกับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(1) จะได้ A(1) มีค่าน้อยที่สุด- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดในกลุ่ม A(2), A(3),....,A(n) แล้วทำกับสลับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(2) อย่างนี้เรื่อยไปจน กระทั่งไม่เกิน N-1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่เรียงลำดับจากน้อยไปมาก


2. การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort) หลักของการเรียงแบบนี้คือ จะเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ค่าที่อยู่ติดกันในลักษณะที่เรากำหนด เช่น จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย โดยจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งชุดจนกว่าจะมีการเรียงตามลำดับทั้งหมดขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม